Coaching and Mentoring
for Leadership

การโค้ชงานเป็นเรื่องสำคัญสำหรับองค์กร ซึ่งผู้จัดการ/หัวหน้างานทุกระดับ
จำเป็นจะต้องเป็นสวมบทบาทความเป็น “โค้ช” ที่ดี

Coaching and Mentoring
for Leadership

การเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานนั้นเพียงได้รับการแต่งตั้งก็เป็นได้ แต่การเป็นผู้จัดการ/หัวหน้างานที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับนั้นต้องใช้คุณสมบัติหลายด้านมาประกอบกัน วิธีการพัฒนาลูกน้องที่ดีนั้นผู้จัดการ/หัวหน้าควรให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาและโค้ชงานให้กับลูกน้องเพื่อให้ลูกน้องทำงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การโค้ชงานเป็นเรื่องสำคัญสำหรับองค์กร ซึ่งผู้จัดการ/หัวหน้างานทุกระดับ จำเป็นจะต้องเป็นสวมบทบาทความเป็น “โค้ช” ที่ดีสำหรับลูกน้อง นอกเหนือจากการเป็น “ผู้จัดการ/หัวหน้างาน” เพียงอย่างเดียว ซึ่งการบริหารคนบริหารงานยุคใหม่ ผู้จัดการต้องเปลี่ยนจากการสั่งการมอบหมายงาน ติดตามงานแบบเดิมๆ มาเป็นการใช้ทักษะการโค้ชชิ่ง พัฒนาลูกน้องให้ค้นพบศักยภาพในตัวเอง สามารถคิดพัฒนางาน นำเสนองาน รายงานผลการทำงานได้ด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดเนื้อหาที่นี่

ประโยชน์ที่ผู้รับการฝึกอบรมจะได้

9

รู้กระบวนการ วิธีการ และปัจจัยหลักที่มีผลต่อการโค้ช

9

สามารถนำองค์ความรู้และทักษะการโค้ชมาใช้พัฒนาทีมงาน

หัวข้ออบรม

9

การโค้ชแตกต่างจากการพัฒนาบุคลากรด้วยวิธีอื่น ๆ อย่างไร

9

บทบาทของการเป็นผู้นำแบบโค้ช

9

พูด ถาม ฟัง แบบโค้ช

9

การโค้ชผ่านการประเมินผลงาน

9

การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedback) แบบโค้ช

9

การมอบหมายงานด้วยการโค้ช

9

การตั้งเป้าหมายแบบ SMART Goal

9

การโค้ชแบบ GROW Model

9

เทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการโค้ชเพื่อเพิ่มระดับผลการปฏิบัติงาน

รูปแบบการอบรม

9

อบรมเชิงปฏิบัติการพร้อมฝึกการโค้ชจริงในระหว่างการอบรม มีการประเมินผล และให้ข้อแนะนำเพิ่มเติม โดยมีรูปแบบการนำเสนอ Workshop ที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกันกับวิทยากร

รูปแบบการอบรม

9

1 วัน

เหมาะกับใคร ?

การจัดฝึกอบรมนั้น องค์กรเราออกแบบพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ขึ้นเสมอ
เพื่อให้ตรงกับผู้เข้าอบรมมากที่สุด

ระดับผู้บริหาร

ผู้ที่เป็นหัวหน้า หรือ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการที่จะส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ระดับผู้จัดการระดับสูง

ผู้ที่คอยดูองค์กรภาพรวมทั้งหมด เป็นผู้วางแผนเป้าหมายกลยุทธ์ ตลอดจนนโยบายขององค์กรมีความสำคัญในการกำหนดทิศทางขององค์กร

ระดับผู้จัดการระดับกลาง

ผู้ที่คอยทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้จัดการระดับสูงและผู้จัดการระดับต้น คอยสื่อสารกลยุทธ์ต่างๆและคอยแบ่งงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร

ระดับผู้จัดการระดับต้น

ผู้ที่คอยแบ่งงานให้บุคลากรในทีม พร้อมสื่อสารเป้าหมายของทีม เพื่อให้เป้าหมายของทีมสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร

ระดับปฏิบัติการอาวุโส

บุคลากรผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านโดยเฉพาะ พร้อมทำงานเพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่

วิทยากรที่เชี่ยวชาญ

อาจารย์ทรงศักดิ์ พุ่มสวัสดิ์ (อ.ป๊อป)

หนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์เพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กรคือ การสร้างทีม (Team Building)

อาจารย์หทัยรัตน์ ศรีนาราง (อ.น้ำ)

หนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์เพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กรคือ การสร้างทีม (Team Building)