Root Cause Analysis

โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่เรามองเห็นว่าเป็นปัญหานั้นมักจะเป็นอาการ (Symptom) หรือความผิดปกติ
ที่สังเกตได้ การแก้ไขอาการที่พบโดยมิได้วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงจึงเป็นเพียงการปกปิดปัญหา
เพียงชั่วคราวและเมื่อสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหานั้นก็จะยังคงเกิดช้าได้อีกในอนาคต

Root Cause Analysis

ปัญหาหรือสิ่งบกพร่องต่างๆ มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งอาจจะเกิดจากปัจจัยภายในหรือปัจจัยภายนอกก็ได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงหรือความผันแปรของปัจจัยการผลิตไม่ว่าจะเป็นบุคลากร เครื่องจักร วัตถุดิบ หรือวิธีการผลิต เป็นต้น การมีสินค้าใหม่ๆหรือตลาดใหม่ๆ การมีกฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดเพิ่มเติมจากลูกค้า การปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้องค์กรจำเป็นต้องมีการบ่งชี้ปัญหาและดำเนินการแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอ

โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่เรามองเห็นว่าเป็นปัญหานั้นมักจะเป็นอาการ (Symptom) หรือความผิดปกติที่สังเกตได้ การแก้ไขอาการที่พบโดยมิได้วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงจึงเป็นเพียงการปกปิดปัญหาเพียงชั่วคราว และเมื่อสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหานั้นก็จะยังคงเกิดซ้าได้อีกในอนาคต

หลักสูตร Root Cause Analysis นี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่เข้าอบรมมีความรู้และทักษะในการบ่งชี้ปัญหา วิธีการวิเคราะห์ปัญหาและหาสาเหตุที่แท้จริงอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิผล ป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้าอีก ซึ่งภายในหลักสูตรประกอบไปด้วยทฤษฎี ตัวอย่างเชิงปฏิบัติการในการทำ Problem Solving โดยใช้ รูปแบบในเชิงของการจัดลาดับความคิดในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนาความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดมีประสิทธิผลต่อไป

ดาวน์โหลดเนื้อหาที่นี่

ประโยชน์ที่ผู้รับการฝึกอบรมจะได้

9

เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาและการหาสาเหตุที่แท้จริง ตลอดจนการใช้เครื่องมือต่างๆในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา

9

เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการแก้ไข้ปัญหาและช่วยให้องค์กรเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้าได้

9

เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถวิเคราะห์ผลอย่างมีรูปแบบ และเป็นระบบ

9

เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการนาความรู้มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

หัวข้ออบรม

9

ความเข้าใจเรื่องของปัญหาและความผิดปกติ

9

รายละเอียดขั้นตอนของการทำ Root Cause Analysis

  • ขั้นตอนที่ 1 – จัดตั้งคณะทำงาน (Select the team)
  • ขั้นตอนที่ 2 – ทำความเข้าใจกับปัญหาและลักษณะอาการปัญหา (Describe Problem)
  • ขั้นตอนที่ 3 – หาและทวนสอบสาเหตุที่แท้จริง (Define and Verify Root Causes)
  • ขั้นตอนที่ 4 – ทวนสอบการปฏิบัติการแก้ไข (Verify Corrective Actions)
  • ขั้นตอนที่ 5 – ปฏิบัติการแก้ไขอย่างถาวรที่สาเหตุของปัญหา (Implement Permanent Corrective Actions)
  • ขั้นตอนที่ 6 – วางมาตรการการป้องกันการเกิดซ้า (Prevent Recurrence)
9

เครื่องมือ สาหรับการหาสาเหตุที่แท้จริง (Root Cause Analysis)

  • กราฟ (Graphs) ชนิดต่างๆ
  • แผนภูมิควบคุม (Control Charts)
  • ใบตรวจสอบ (Check Sheets)
  • แผนผังพาเรโต (Pareto Diagram)
  • การระดมสมอง (Brainstorming)
  • Why – Why Analysis (5 Why’s)
  • แผนผังก้างปลา (Cause and Effect Diagram)
9

เครื่องมือ สำหรับการแก้ไขปัญหา (Problem Solving Method)

  • การควบคุมด้วยสายตา (Visual Control)
  • การป้องกันความผิดพลาด (Mistake-Proofing or Poka Yoke)

รูปแบบการอบรม

9

Workshop 60% บรรยาย 40% โดยมีรูปแบบการนาเสนอ Workshop ที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกันกับวิทยากร

รูปแบบการอบรม

9

1 วัน

เหมาะกับใคร ?

การจัดฝึกอบรมนั้น องค์กรเราออกแบบพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ขึ้นเสมอ
เพื่อให้ตรงกับผู้เข้าอบรมมากที่สุด

ระดับผู้บริหาร

ผู้ที่เป็นหัวหน้า หรือ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการที่จะส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ระดับผู้จัดการระดับสูง

ผู้ที่คอยดูองค์กรภาพรวมทั้งหมด เป็นผู้วางแผนเป้าหมายกลยุทธ์ ตลอดจนนโยบายขององค์กรมีความสำคัญในการกำหนดทิศทางขององค์กร

ระดับผู้จัดการระดับกลาง

ผู้ที่คอยทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้จัดการระดับสูงและผู้จัดการระดับต้น คอยสื่อสารกลยุทธ์ต่างๆและคอยแบ่งงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร

ระดับผู้จัดการระดับต้น

ผู้ที่คอยแบ่งงานให้บุคลากรในทีม พร้อมสื่อสารเป้าหมายของทีม เพื่อให้เป้าหมายของทีมสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร

ระดับปฏิบัติการอาวุโส

บุคลากรผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านโดยเฉพาะ พร้อมทำงานเพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่

ระดับปฏิบัติการ

บุคลากรผู้ที่พร้อมเรียนรู้ และพัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของตนเอง โดยการพัฒนานั้นต้องสอดคล้องต่อเป้าหมายองค์กร

วิทยากรที่เชี่ยวชาญ

อาจารย์อดิสร ทิวากรกฏ

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการขาย การบริหาร และที่ปรึกษาด้านการเงิน

อาจารย์ธันยวีร์ ทรงสุนทร (อ.เอ)

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขาย การบริการ และอื่นๆ

อาจารย์เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ (อ.เซ็ธ)

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขาย การบริการ การบริหารโครงการ และอื่นๆ

อาจารย์ทรงศักดิ์ พุ่มสวัสดิ์ (อ.ป๊อป)

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาภาวะผู้นำ การโค้ช การนำเสนอ การสื่อสาร และการสร้างแรงจูงใจ

อาจารย์นิภาพันธ พูนเสถียรทรัพย์ (อ.นิ)

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสร้างแรงจูงใจ การวางแผนการเงินและการลงทุน และอื่นๆ

อาจารย์ณษรา สุวศราภรณ์ (อ.ปุ๊ก)

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการโค้ช การขาย การบริการ การสร้างแรงจูงใจ การบริหารโครงการ และอื่นๆ

อาจารย์จักรพันธ์ เธียราวัฒน์ (อ.จักร)

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาภาวะผู้นำ การสร้างแรงจูงใจ การบริหารโครงการ และอื่นๆ