Goal Setting & Action Plan
องค์กรส่วนใหญ่มีเป้าหมายขององค์กร ว่าในแต่ละปี หรือ ปีต่อๆไป ต้องการเป้าหมายเท่าใด แต่พอลง
มาถึงระดับหน่วยงาน กลับเกิดความไม่ชัดเจนว่าหน่วยงานไหน จะต้องรับผิดชอบเป้าหมายข้อไหน
Goal Setting & Action Plan
ในการทำงาน ของบุคลากรในองค์กรใดๆ ในการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย มักมีปัญหาหลักๆอยู่ 3 ประการ คือ
1) ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ของระดับองค์กร หรือ ระดับหน่วยงาน
2) ไม่สามารถปฏิบัติงาน ให้สามารถพิชิตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
3) สถานการณ์การแข่งขัน หรือปัจจัยอื่นๆ บีบบังคับให้องค์กรต้องมีการปรับตัวเลขเป้าหมายสูงขึ้น
องค์กรส่วนใหญ่มีเป้าหมายขององค์กร ว่าในแต่ละปี หรือ ปีต่อๆไป ต้องการเป้าหมายเท่าใด แต่พอลงมาถึงระดับหน่วยงาน กลับเกิดความไม่ชัดเจนว่าหน่วยงานไหน จะต้องรับผิดชอบเป้าหมายข้อไหน รับผิดชอบเท่าไหร่ เพื่อที่จะส่งเสริมให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย จึงเกิดปัญหาในการเกี่ยงงาน ปัดความรับผิดชอบ ทำงานไม่สอดคล้องกัน เป้าหมายขัดแย้งกันระหว่างหน่วยงาน เกิดความขัดแย้งกัน
อีกประการคือ ถึงแม้มีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่ถ้าหากองค์กรยังคงมีการปฏิบัติงานเหมือนที่ผ่านมาทุกประการ ผลงานก็ย่อมไม่แตกต่างจากที่เคยได้คือ ไม่ถึงเป้าหมาย ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ หรือ แม้แต่หัวหน้างาน ก็ต้องช่วยกันหาวิธีการ ในการปรับปรุงแก้ไข กระบวนการปฏิบัติงาน ตามขอบเขตหน้าที่ของแต่ละคน ให้องค์กรสามารถ พิชิตเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้
ดังนั้นองค์กรอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ในการดำเนินกิจการอยู่บ่อยครั้ง หากยังไม่สำเร็จตามเป้าหมาย และถ้ามีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ แผนการปฏิบัติงานก็ต้องปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์นั้นๆด้วย เพราะต้องทำผลงานให้ได้ตัวเลขตามตัวชี้วัด(KPI) ที่ได้กำหนดไว้ และแผนปฏิบัติงานนั้นๆ ต้องทำให้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย หมายถึง ต้องคำนึงถึงความสำเร็จตามเป้าหมาย การประหยัดทรัพยากร เงินทุน กำลังพล เวลา และอื่นๆในส่วนของปัจจัยการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง
ในหลักสูตรนี้ จะเน้นให้ผู้เข้าอบรม เข้าใจเป้าหมายของหน่วยงานและเป้าหมายของตัวเองให้ชัดเจน และสามารถวางแผนปฏิบัติ ให้มีประสิทธิภาพ เน้นการทำงานที่ตอบโจทย์เป้าหมาย และคำนึงถึงปัจจัยต่างๆในการดำเนินตามแผนไปในตัว ซึ่งเราเรียกการทำแผนลักษณะนี้ ว่า Effective Action Plan ซึ่งการที่จะเกิดการวางแผนแบบนี้ได้ ผู้มีหน้าที่วางแผนปฏิบัติงานต้องมี ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มีการคิดที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน คำนึงถึงผลกระทบในแต่ละด้าน และมีกลยุทธ์ที่จะสามารถ วางแผนปฏิบัติ ให้พร้อมรับกับทุกสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลง โดยมีเกณฑ์สำคัญคือ ต้องตอบสนองต่อความสำเร็จตามเป้าหมายให้มากที่สุด และ สามารถตรวจสอบผลงาน เทียบกับตัวชี้วัด (KPI) เพื่อปรับปรุงแผนได้ตลอดเวลา
ประโยชน์ที่ผู้รับการฝึกอบรมจะได้
เพื่อให้ผู้เข้าอบรม เข้าใจในหลักการกำหนดเป้าหมายระดับองค์กรและหน่วยงาน มีเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถกระจายเป้าหมายที่ได้รับจากผู้บริหาร ลงสู่หน่วยงาน หรือบุคลากรในองค์กรได้
เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ ปัจจัยใดบ้าง ที่จะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ให้สำเร็จตามเป้าหมาย
เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถวางแผนปฏิบัติงาน ให้ตอบสนองต่อความสำเร็จตามเป้าหมาย และประหยัดทรัพยากร งบประมาณ บุคลากร เวลา ฯลฯ ในการดำเนินตามแผน รวมถึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อลูกค้า องค์กร หรือ หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
หัวข้ออบรม
ส่วนที่ 1 ทบทวน วิสัยทัศน์ ภารกิจเพื่อ เข้าใจในทิศทางของบริษัท
- วิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์กร
- ภารกิจ (Mission) ขององค์กร
- ค่านิยม (Core Value) ขององค์กร
- วัตถุประสงค์ (Objective) ขององค์กร
ส่วนที่ 2 หลักการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดผลงานขององค์กร
- ภาพรวม แนวทางการบริหารผลงาน
- ที่มาของเป้าหมายองค์กร?
- หลักการกำหนด KPI ทั้งระบบขององค์กร ให้มีประสิทธิภาพ
- การกำหนดเป้าหมายในแต่ละข้อต้อง ตอบโจทย์การกำหนดเป้าหมายแบบ SMART
- การจัดลำดับความสำคัญ และ ให้น้ำหนักคะแนน ของ KPI องค์กร
- การกระจาย KPI ขององค์กรสู่หน่วยงาน ให้ตอบโจทย์เป้าองค์กร
ส่วนที่ 3 ทบทวนตัวชี้วัดผลงาน (KPI) ทบทวนปัญหาของหน่วยงาน
- การกระจาย KPI จากองค์กร สู่หน่วยงาน
- เป้าหมายตามหน้าที่งาน (Functional KPI) ของหน่วยงาน
- เป้าหมายที่อ้างอิงจากระบบมาตรฐานต่างๆ
- ลำดับความสำคัญของ KPI หน่วยงาน
- สรุปเป้าหมายหน่วยงาน
- กรณีที่มีการกำหนดเป้าอยู่แล้ว ที่ผ่านมาทำได้ตามเป้า KPI หรือไม่ ประสบปัญหาอะไร
ส่วนที่ 4 ภาพรวมกระบวนการการจัดทำแผนปฏิบัติการ
- การกำหนดเป้าหมาย เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ (เป้าหมาย หรือ ปัญหาที่ต้องแก้ไข)
- การวิเคราะห์เป้าหมาย (ปัญหาสาเหตุ ปัจจัยต่างๆ)
- การออกแบบทางเลือก เพื่อบรรลุเป้าหมาย
- การประเมินทางเลือก
- การจัดทำตารางแผนปฏิบัติการ
ส่วนที่ 5 การกำหนดเป้าหมาย และทำการวิเคราะห์เป้าหมาย
- ใน KPI แต่ละข้อ เกิดมาจากกระบวนการใดบ้าง (คิดย้อนกลับกระบวนการ)
- ใน KPI แต่ละข้อ มีองค์ประกอบทางทรัพยากร หรือ ปัจจัยใดเกี่ยวข้องบ้าง?
- ในแต่ละขั้นตอน มีวิธีการปฏิบัติอย่างไร
- ปัจจัย/สาเหตุ ภายในภายนอกจากอะไรบ้าง ที่ทำให้บรรลุหรือไม่บรรลุเป้าหมาย
ส่วนที่ 6 การออกแบบทางเลือก
- สามารถปรับปรุงแก้ไข กระบวนการ ทรัพยากร หรือวิธีการใดบ้าง เพื่อบรรลุเป้าหมาย )
- มีแนวทางปฏิบัติ ทางเลือกอื่นๆอะไรบ้าง ให้เราสำเร็จได้ตามเป้าหมาย
ส่วนที่ 7 การประเมินทางเลือก เพื่อนำไปเป็นจัดทำแผนปฏิบัติการ
- ประเมินปัจจัยความเป็นไปได้, ความคุ้มค่า, ทันเวลา, แตกต่างจากเดิม, ไม่เกิดผลเสีย
- การประมาณการความสำเร็จ ที่ตอบโจทย์เป้าหมาย
- สามารถอธิบายเหตุผล ของแต่ละทางเลือกทั้งหมดได้ชัดเจน
- เลือกทางเลือกที่จะนำไปจัดทำแผนปฏิบัติการ
ส่วนที่ 8 การทำตาราง Effective Action Plan
- กำหนดหัวข้อแผนปฏิบัติการ เพื่อตอบโจทย์ตัวชี้วัดแต่ละตัว (KPI)
- ระบุผังระยะเวลา เริ่มต้น และสิ้นสุด ช่วงเวลา
- ต้องใช้งบประมาณ ทรัพยากร บุคลากร เท่าใดเพื่อทำตามแผน
- ผู้รับผิดชอบคือใคร กระทบต่อหน้าที่ของบุคลากรในและนอกหน่วยงาน อย่างไรบ้าง
- กำหนดตัวชี้วัดในการดำเนินการตามแผน และแผนการติดตามผล
- ทำตารางแผนปฏิบัติการ Effective Action Plan
รูปแบบการอบรม
สไตล์การบรรยาย แบบ ฮาสนุก ตื่นเต้น บวก การกระตุ้นสร้างแรงจูงใจ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัววิทยากรกิจกรรม เน้นกิจกรรมที่ให้ผู้เข้าอมรม ร่วมคิดร่วมทำ ที่ตรงตามการนำใช้กับการทำงานจริง
บรรยาย 35 %
กิจกรรมกลุ่ม 65%
รูปแบบการอบรม
1 วัน
เหมาะกับใคร ?
การจัดฝึกอบรมนั้น องค์กรเราออกแบบพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ขึ้นเสมอ
เพื่อให้ตรงกับผู้เข้าอบรมมากที่สุด

ระดับผู้บริหาร
ผู้ที่เป็นหัวหน้า หรือ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการที่จะส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ระดับผู้จัดการระดับสูง
ผู้ที่คอยดูองค์กรภาพรวมทั้งหมด เป็นผู้วางแผนเป้าหมายกลยุทธ์ ตลอดจนนโยบายขององค์กรมีความสำคัญในการกำหนดทิศทางขององค์กร

ระดับผู้จัดการระดับกลาง
ผู้ที่คอยทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้จัดการระดับสูงและผู้จัดการระดับต้น คอยสื่อสารกลยุทธ์ต่างๆและคอยแบ่งงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร

ระดับผู้จัดการระดับต้น
ผู้ที่คอยแบ่งงานให้บุคลากรในทีม พร้อมสื่อสารเป้าหมายของทีม เพื่อให้เป้าหมายของทีมสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร

ระดับปฏิบัติการอาวุโส
บุคลากรผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านโดยเฉพาะ พร้อมทำงานเพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่

ระดับปฏิบัติการ
บุคลากรผู้ที่พร้อมเรียนรู้ และพัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของตนเอง โดยการพัฒนานั้นต้องสอดคล้องต่อเป้าหมายองค์กร
วิทยากรที่เชี่ยวชาญ

อาจารย์อดิสร ทิวากรกฏ
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการขาย การบริหาร และที่ปรึกษาด้านการเงิน

อาจารย์ธันยวีร์ ทรงสุนทร (อ.เอ)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขาย การบริการ และอื่นๆ

อาจารย์เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ (อ.เซ็ธ)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขาย การบริการ การบริหารโครงการ และอื่นๆ

อาจารย์ทรงศักดิ์ พุ่มสวัสดิ์ (อ.ป๊อป)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาภาวะผู้นำ การโค้ช การนำเสนอ การสื่อสาร และการสร้างแรงจูงใจ

อาจารย์นิภาพันธ พูนเสถียรทรัพย์ (อ.นิ)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสร้างแรงจูงใจ การวางแผนการเงินและการลงทุน และอื่นๆ

อาจารย์ณษรา สุวศราภรณ์ (อ.ปุ๊ก)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการโค้ช การขาย การบริการ การสร้างแรงจูงใจ การบริหารโครงการ และอื่นๆ

อาจารย์จักรพันธ์ เธียราวัฒน์ (อ.จักร)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาภาวะผู้นำ การสร้างแรงจูงใจ การบริหารโครงการ และอื่นๆ