5 สิ่งที่ไม่ควรทำในการนำเสนองาน

        การสัมมนาหรือนำเสนอผลงานต่างๆ แน่นอนว่าสิ่งที่ทำให้เราอยากจะฟัง คือหัวข้อที่ในการนำเสนอและเนื้อหา ซึ่งมักจะตกม้าตายกันเยอะ เราจึงมีข้อแนะนำที่ไม่ควรทำ ทั้งก่อนและระหว่างการนำเสนอ รวมทั้งบอกวิธีป้องกันและแก้ไขมาฝากกันด้วยค่ะ

         1.ไม่ควรอ่านอย่าอ่านตามเนื้อหาที่อยู่ใน PowerPoint เพราะมันไม่ต่างอะไรจากการให้อ่านฟังคำแนะนำ ควรศึกษาเนื้อหา สิ่งที่เราจะนำเสนอให้ดีแล้วสรุปใจความสำคัญออกมาพูดให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายๆ แทน





        2 อย่าวางใจอุปกรณ์ทั้งหลายที่แม้เราจะเป็นคนเตรียมเองก็ตามเพราะเรามักจะเจอกับปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ของเรา
คำแนะนำ ใช้เวลากับอุปกรณ์ต่างๆ ทำการซักซ้อมก่อนที่จะขึ้นไปนำเสนองาน ประมาณ 10-30 นาที เพื่อเป็นการทดสอบเครื่อง และหากมีปัญหาก็ยังพอมีเวลาในการคิดแผนสำรอง

        3.อย่านอกเรื่องไปไกลการหลุดจากสิ่งที่จะนำเสนอจริงๆ หรือพูดในสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับหัวข้อที่ตั้งไว้ มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้ผู้ฟังเบื่อเช่นกัน ทำให้รู้สึกเสียเวลาได้
        คำแนะนำ Focus ถึงหัวข้อในการพูดที่ต้องการจะเน้นพูดให้ชัดเจน ตั้งแต่การเริ่มต้นเล่าเรื่อง, แก่นของเรื่อง จนถึงสรุปสุดท้ายของเรื่อง ว่าเป็นอย่างไร จะช่วยให้คนฟังสามารถเข้าใจและเข้าถึงสิ่งที่ต้องการสื่อได้ง่ายขึ้นรวมทั้งการคำนวณเวลาในการพูดจะทำให้สามารถยืดหยุ่นการพูดคุย สอบถาม หลังการนำเสนอเสร็จได้ดีเลยทีเดียว

        4.มากไป ก็ใช่ว่าจะดี!ในบางครั้งข้อมูลของผู้พูดเองนั้น มีปริมาณค่อนข้างมากจนเกินไปทำให้ผู้ฟังไม่สามารถรับรู้และเข้าใจได้ ประเด็นสำคัญที่ผู้พูดต้องการจะสื่อ ก็อาจถูกกลืนจมหายไปกับข้อมูลปริมาณมหาศาลนั้นๆ
        คำแนะนำ ถ่ายทอดข้อมูลต่างๆ ด้วยการใช้คำพูดและประโยคที่สามารถอ่านเพียงครั้งเดียวแล้วเข้าใจได้โดยทันทีดึงเอาข้อความเด็ดๆ เพียงไม่กี่คำมาบรรยายจะทำให้ทุกคนเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน 

        5.มีตัวอักษรบนหน้าสไลด์ให้น้อยที่สุดสไลด์ที่มีตัวอักษรเต็มไปหมด นอกจากอ่านยากแล้ว ยังลดความสนใจจากผู้ฟังอย่างมากผู้ฟังบางคนก็อาจหันไปสนใจที่จะอ่านสไลด์เอง ทำให้ไม่ได้ฟังผู้นำเสนอคำแนะนำ ลดจำนวนตัวอักษร แต่ให้เล่าเรื่องราวหรือแทนคำต่างๆ ด้วยรูปภาพที่สื่อความหมายและเหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการเป็นตัวช่วยสื่อ
        ทั้งหมดคือ 5 ข้อ เบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะต้องทำการนำเสนอลองนำไปปรับใช้กันนะคะ