ข้อกำหนดระบบ ISO 9001-2015 เพื่อการปรับปรุง
ระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่มีองค์กรต่างๆ ทั่วโลกนำไปใช้เป็น
ต้นแบบในการบริหารงานด้านคุณภาพอย่างแพร่หลาย เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน
และการดำเนินงานในหน่วยงานให้สามารถสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้า
ข้อกำหนดระบบ ISO 9001 : 2015 เพื่อการปรับปรุง
ระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่มีองค์กรต่างๆ ทั่วโลกนำไปใช้เป็นต้นแบบในการบริหารงานด้านคุณภาพอย่างแพร่หลาย เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน และการดำเนินงานในหน่วยงานให้สามารถสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้า สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยทุกองค์กรสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีข้อจำกัด ในประเภทของกิจการและขนาดขององค์กร
ระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 มีการประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1987 และมีการปรับปรุงต่อมาในปี ค.ศ. 1994, 2000, 2008 และล่าสุดในปี ค.ศ. 2015 เมื่อมาตราฐาน ISO 9000ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากฉบับปี 2008 เป็นฉบับใหม่ปี 2015 องค์กรจะต้องทำความเข้าใจข้อกำหนดที่มีการปรับปรุงใหม่ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนระบบที่จัดทำให้เป็นตามมาตราฐานฉบับปี 2015 ในเวลากำหนด 3 ปี ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพต่อไป
ประโยชน์ที่ผู้รับการฝึกอบรมจะได้
เข้าใจถึงประเด็นที่มีการปรับเปลี่ยนของมาตรฐาน ISO 9000 และทราบข้อกำหนดของมาตรฐานฉบับปี 2015
ทราบถึงผลกระทบต่อระบบคุณภาพในปัจจุบันขององค์กร ทราบแนวทางการเปลี่ยนแปลง การจัดทำระบบขององค์กรให้สอดคล้องกับมาตรฐานฉบับใหม่
ผู้เข้าอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองหลังเสร็จสิ้น
หัวข้ออบรม
ทบทวนรายละเอียดระบบมาตรฐาน ISO 9000 ฉบับปี 2015
- โครงสร้างตัวระบบมาตรฐาน ISO 9000 ฉบับปี 2015
- คำนิยาม หลักการของระบบและ สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยยะ
- หลักการบริหารความเสี่ยง
- ข้อกำหนดแต่ละข้อโดยละเอียด เปรียบเทียบกับข้อกำหนดฉบับปี 2008
- แนวทางการเปลี่ยนแปลง การจัดทำระบบเอกสารและการปฏิบัติกับระบบคุณภาพในปัจจุบันขององค์กรเพื่อการขอการรับรอง
กรณีศึกษา (Workshop)
ถามตอบ
รูปแบบการอบรม
การบรรยาย และการฝึกภาคปฏิบัติ รวมถึงมีการประเมินผล และให้ข้อแนะนำเพิ่มเติม โดยมีรูปแบบการนำเสนอ Workshop ที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกันกับวิทยากร
รูปแบบการอบรม
1 วัน
เหมาะกับใคร ?
การจัดฝึกอบรมนั้น องค์กรเราออกแบบพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ขึ้นเสมอ
เพื่อให้ตรงกับผู้เข้าอบรมมากที่สุด

ระดับผู้บริหาร
ผู้ที่เป็นหัวหน้า หรือ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการที่จะส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ระดับผู้จัดการระดับสูง
ผู้ที่คอยดูองค์กรภาพรวมทั้งหมด เป็นผู้วางแผนเป้าหมายกลยุทธ์ ตลอดจนนโยบายขององค์กรมีความสำคัญในการกำหนดทิศทางขององค์กร

ระดับผู้จัดการระดับกลาง
ผู้ที่คอยทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้จัดการระดับสูงและผู้จัดการระดับต้น คอยสื่อสารกลยุทธ์ต่างๆและคอยแบ่งงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร

ระดับผู้จัดการระดับต้น
ผู้ที่คอยแบ่งงานให้บุคลากรในทีม พร้อมสื่อสารเป้าหมายของทีม เพื่อให้เป้าหมายของทีมสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร

ระดับปฏิบัติการอาวุโส
บุคลากรผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านโดยเฉพาะ พร้อมทำงานเพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่

ระดับปฏิบัติการ
บุคลากรผู้ที่พร้อมเรียนรู้ และพัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของตนเอง โดยการพัฒนานั้นต้องสอดคล้องต่อเป้าหมายองค์กร
วิทยากรที่เชี่ยวชาญ

อาจารย์อดิสร ทิวากรกฏ
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการขาย การบริหาร และที่ปรึกษาด้านการเงิน

อาจารย์ธันยวีร์ ทรงสุนทร (อ.เอ)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขาย การบริการ และอื่นๆ

อาจารย์เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ (อ.เซ็ธ)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขาย การบริการ การบริหารโครงการ และอื่นๆ

อาจารย์ทรงศักดิ์ พุ่มสวัสดิ์ (อ.ป๊อป)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาภาวะผู้นำ การโค้ช การนำเสนอ การสื่อสาร และการสร้างแรงจูงใจ

อาจารย์นิภาพันธ พูนเสถียรทรัพย์ (อ.นิ)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสร้างแรงจูงใจ การวางแผนการเงินและการลงทุน และอื่นๆ

อาจารย์ณษรา สุวศราภรณ์ (อ.ปุ๊ก)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการโค้ช การขาย การบริการ การสร้างแรงจูงใจ การบริหารโครงการ และอื่นๆ

อาจารย์จักรพันธ์ เธียราวัฒน์ (อ.จักร)
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาภาวะผู้นำ การสร้างแรงจูงใจ การบริหารโครงการ และอื่นๆ